รู้ลึกแค่ไหน!? [สรุปจบ] ประวัติวิธีการ-เครื่องมืองานสำรวจ

 
 คุณรู้เรื่องประวัติศาตร์ วิธีการ-เครื่องมือ งานสำรวจดีแค่ไหน?
ชาติใดคิดค้นวิธีตรวจสอบสามเส้า?
เคยได้ยินเรื่อง โซ่ Gunter หรือไม่?
หากคุณไม่เคยและสนใจจะรู้ที่มาของมัน 
อ่านบทความความรู้งานสำรวจ เรียบเรียงโดย CST เพื่อเพิ่มความรู้ของคุณ

 

คุณรู้เรื่องประวัติศาตร์ วิธีการ-เครื่องมือ งานสำรวจดีแค่ไหน ชาติใดคิดค้นวิธีตรวจสอบสามเส้า? เคยได้ยินเรื่อง โซ่Gunterหรือไม่? หากคุณไม่เคยและสนใจจะรู้ที่มาของมัน โปรดอ่านบทความความรู้งานสำรวจ เรียบเรียงโดย CST เพื่อเพิ่มความรู้ของคุณ

 

 ทุกอย่างของเครื่องมือสำรวจเริ่มต้นที่นี่....

ประวัติศาสตร์เครื่องมือสำรวจ (The history of surveying instruments) ต้องย้อนกลับไปตั้งแต่ศตวรรษที่ 16 ของยุโรป วิธีการสำรวจที่เรียกว่า “วิธีการตรวจสอบสามเส้า” (Triangulation) ได้ถือกำเนิดขึ้นมา

วิธีการตรวจสอบสามเส้า(Triangulation) ในศตวรรษ16

 วิธีการตรวจสอบสามเส้า (Triangulation) คือ การวัดมุมองศา โดยมีรากฐานจาก การหาตำแหน่งแบบสัมพันธ์ ระหว่างพื้นที่ตามเขตแดนของตนเอง โดยวิธีการตรวจสอบสามเส้านี้ จะทำให้ผู้ตรวจสอบในงานสำรวจเรียนรู้ได้มากขึ้น ทั้งทางด้านความแม่นยำ ความสมบูรณ์ และความน่าเชื่อถือ ในการวิเคราะห์ข้อมูลรวม อีกทั้งทำให้เกิดความคิด หรือการตีความหมายใหม่ ๆ นับว่าเป็นวิธีสากล ที่มีมาตั้งแต่สมัยศตวรรษที่ 16 จนถึงปัจจุบันก็ยังมี การนำวิธีการตรวจสอบสามเส้า ไปประยุกต์กับงานวิจัยต่างๆอีกด้วย

ยุคสมัยอังกฤษรุ่งเรือง และโซ่ของ GUNTER

 ต่อมา ยุคสมัยอังกฤษรุ่งเรือง ปกครองทั้งออสเตรเรียและนิวซีแลนด์ เนื่องจากเป็นยุคที่มีการล่าดินแดนต่างๆ ทำให้เกิดงานประเภทสำรวจที่ดินรังวัด งานเซอร์เวย์ เพื่อจัดสรรที่ดินเพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล โดยเครื่องมือและอุปกรณ์ที่นิยม ริเริ่มใช้ในงานสำรวจ-โยธาของยุคนั้น เป็นอะไรไปไม่ได้นอกจาก โซ่ของGunter (Gunter’s chains) - อุปกรณ์วัดระยะทางงานสำรวจ ถูกคิดค้นในปี1620- ‍

     นอกจากนี้ก็ยัง ล้อวัดระยะทาง, เข็มทิศทหาร(Kater’s compass) ฯลฯ ซึ่งปรากฏในภาพวาดช่างสำรวจ ทว่ากาลเวลาผ่านไป โซ่ของ Gunter ถูกแทนด้วย เทปวัดระยะทางเหล็ก (Steel Measured Tapes) และ เทปอินวาร์ (Invar tapes) เนื่องจากมีความสะดวก และแม่นยำมากกว่า

ตารางงานสำรวจ ค.ศ.1728 : สารานุกรมประวัติศาสตร์งานสำรวจ

 

ยุค Electromagnetic Distance Measurement (EDM)

ต่อมาด้วยวิธีการที่ใช้ เครื่องมืองานสํารวจและโยธา วัดระยะทางโดยส่งคลื่นอินฟราเรด โดยเครื่องวัดจะไปกระทบกับเป้ากระจก(ปริซึม) หรือในภาษาทางการเรียกว่า ‘ElectromagneticDistance Measurement’ (EDM) เริ่มแพร่หลายมากขึ้น ในวงการสำรวจ พร้อมเสริมด้วย อุปกรณ์ระบบการหาตำแหน่งทั่วโลก Global Positioning System (GPS) โดยเครื่องมือ-อุปกรณ์สำรวจเหล่านี้ทำให้งานเซอร์เวย์ในสมัยนั้นมีประสิทธิภาพ แม่นยำ ไปอีกระดับนึง

ElectromagneticDistance Measurement (EDM)

ยุค Theodolite และ TOTAL station

ภายหลังจากนั้นไม่นานGPS ก็ ถูกแทนที่ ด้วยกล้องวัดมุม (Theodolite) พร้อมต่อกล้องประมวลผลรวมอย่าง Total Station อาทิ GEOMAX, PENTAX, TOPCON ที่เราเห็น ในงานสำรวจปัจจุบัน ซึ่งเป็นกล้องเซอร์เวย์ ที่สามารถวัดมุมและวัดระดับได้ในตัวเดียว

total station GEOMAX Zoom10

SUMMARY : 

หากต้องตอบคำถามว่า คุณรู้เรื่องประวัติศาสตร์วิธีการ-เครื่องมืองานสำรวจดีแค่ไหน? คงตอบได้ว่า "ไม่100%" เพราะไม่มีใครสามารถรู้ไปได้หมดทุกอย่าง แต่หากให้CST สรุปให้เข้าใจง่ายๆ งานสำรวจนั้นมีมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 16 โดยวิธีการสำรวจพื้นที่ต่างๆนั้น เริ่มด้วย วิธีตรวจสอบสามเส้า ส่วนอุปกรณ์ตัวแรกที่ถูกพูดถึง ในสายงานเซอร์เวย์ ก็คือ โซ่วัดระยะทาง หรือ โซ่ของGunter (Gunter’s chains) ก่อนปรับปรุงเป็น เทปวัดระยะทาง (Measured tape) ส่วนวิธีการสํารวจรังวัดแบบใหม่ Electromagnetic Distance Measurement โดยใช้เป้าปริซึมในการสะท้อนหาระยะ พร้อมกับที่ GPS ถูกคิดค้นในเวลาถัดมา สุดท้ายงานเซอร์เวย์ก็อัพเกรดตัวเอง มาสู่กล้องวัดมุม (Theodolite) และกล้องประมวลผลรวม (Total Station) ตามลำดับนั่นเอง
 
หากท่านคิดว่าบทความนี้ดี และกำลังมองหาเครื่องมือ-อุปกรณ์งานสำรวจ คุณภาพดีเยี่ยม ติดต่อเรารับคำแนะนำฟรี!