“เส้น-ระนาบ-มุม” ศัพท์วัดมุมเน้นๆ ช่างสำรวจต้องรู้! เด็กโยธาห้ามพลาด! แน่นอนว่าเมื่อเข้าวงการช่างสำรวจหรือวิศวโยธา

แน่นอนว่าเมื่อเข้าวงการช่างสำรวจหรือวิศวโยธานั้น ความเที่ยงตรงและองศาเป็นสิ่งหนึ่งในชีวิตประจำวันของพวกเรา

เลยก็ว่าได้ โดยเฉพาะคำว่า “เส้น ระนาบ และมุม” วันนี้ช่างแว่นเลยนั้นคำอธิบายพร้อมภาพแบบเข้าใจง่าย ๆ ให้คนใหม่ ๆ

ในวงการได้เตรียมตัวกัน ก่อนจะเริ่มทำการสำรวจ เพราะหากฐานบ้านแข็งแรง บ้านเราก็จะมั่นคง!

เส้น (Line)

เส้นในงานสำรวจแบ่งได้เป็น 2 แบบดังนี้


     - เส้นดิ่ง (Vertical Line) : จะเป็นเส้นที่เกิดในทิศตามแนวแรงดึงดูดโลก และมีเพียง1 เส้นต่อ 1 จุด

บนผิวโลก ทำให้เส้นดิ่งนั้นกลายเป็นจุดอ้างอิงหลักในการทำงานสำรวจงานเซอร์เวย์โดยการหาเส้น

ดิ่งนั้นทำได้โดยใช้ลูกดิ่งแขวนเพื่อตามหาเส้นดิ่งในจุดนั้น ๆ  

     - เส้นราบ (Horizontal Line) :  เป็นเส้นที่จะตั้งฉากกับเส้นดิ่งเสมอ โดยจะมีหลายเส้นรอบ ๆ เส้น

ดิ่ง ซึ่งสามารถหาเส้นราบได้ด้วยการใช้หลอดระดับหรือที่ช่างชอบเรียกว่า “ลูกน้ำฟอง” ในการหาเส้น

ราบรอบ ๆ เส้นดิ่งนั่นเอง


 

‍ระนาบ (Plane)

ระนาบเองก็ยังไม่คงพ้นคำว่า “ดิ่ง” และ “ราบ”โดยแบ่งออกเป็น 2 แบบได้เหมือนเดิมดังนี้


     - ระนาบดิ่ง (Vertical Plane) : วิธีหาระนาบดิ่งก็ง่ายมาก ๆ หากเส้นดิ่งผ่านที่จุดใด ก็จะมีระนาบ

ดิ่งที่นั่นราวกับคู่แท้ไม่พรากจากกัน


     - ระนาบราบ (Horizontal Plane) : หากระนาบดิ่งเหมือนคู่แท้ของเส้นดิ่ง ระนาบราบก็เหมือนมือ

ที่สามที่เป็นรักสามเส้าของเรื่องโดยระนาบราบจะตั้งฉากกับเส้นดิ่ง ณ จุด ๆ นั้น


 

มุม (Angle)

‍แท้จริงแล้วมุมมีหลากหลายแบบมากแต่เพื่อความเข้าใจง่ายๆในพื้นฐานที่ต้องใช้กับเครื่องมือสำรวจ

ทางเราจะขอยกตัวอย่างเพียง 2 แบบดังนี้


     - มุมดิ่ง (Vertical Angle) : เป็นมุมวัดบนระนาบดิ่งไปจบที่ระนาบราบตรงจุดที่ทำการวัดโดยมุม

ดิ่งสามารถเป็นมุมก้มหรือมุมเงยก็ได้


     - มุมราบ (Horizontal Angle) : มันคือมุมระหว่างระนาบดิ่ง 2 ระนาบ โดยวัดจากระนาบราบที่จุด

นั้นเท่านั้นหากไม่ได้อยู่ในแนวระนาบราบ จะไม่ถือเป็นมุมราบ จำไว้ให้ขึ้นใจเผื่อออกสอบนะ!


 

SUMMARY สรุปเนื้อหา

      หากทุกท่านได้ลองอ่าน พร้อมดูภาพประกอบ แล้วจะเห็นชัดว่า ทั้งสามคำ (เส้น-ระนาบ-มุม)

มีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันอย่างมีนัยยะสำคัญ โดยการทำความเข้าใจที่ดีที่สุด คือการลองไปปฏิบัติ

จริงกับตัวกล้องวัดมุม กล้องTotal Stationเพื่อเพิ่มความเข้าใจให้ลึกซึ่้งมากขึ้น เพื่อกลายเป็นช่าง

สำรวจวิศวโยธามากฝีมือนะ! ถ้าคิดว่าบทความนี้เป็นประโยชน์หรือสนุกดีก็อย่าลืมแชร์ลง

Facebook เป็นกำลังใจให้ทีมงาน